ธีรวุฒิ เอกะกุล (2549 : 105) ได้กล่าวไว้ว่า การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น ระดับรายได้ของนักท่องเที่ยว เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยว สมมติฐานทาหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้กล่าวไว้ว่า การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2534 : 383) ได้กล่าวไว้ว่า โดยทั่วไปแล้วการตั้งสมมติฐานเมื่อผู้วิจัยตัดสินใจจะทำการวิจัยเรื่องใด ผู้วิจัยมักจะคาดหวังผลบางอย่างจากการวิจัยไว้ตั้งแต่ต้น ทั้งนี้โดยอาศัยประสบการณ์ การสังเกต ทฤษฎี หรือผลงานวิจัยที่มีมาก่อนเป็นหลัก การทำนั้นการวิจัย การทำวิจัยก็คือการศึกษาเพื่อดูว่า สิ่งที่คาดหวังนั้น จะเป็นจริงหรือไม่จริงตามความคาดหวัง
สรุป
การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) ผู้วิจัยมักจะคาดหวังผลบางอย่างจากการวิจัยไว้ตั้งแต่ต้น ทั้งนี้โดยอาศัยประสบการณ์ การสังเกต ทฤษฎี หรือผลงานวิจัยที่มีมาก่อนเป็นหลัก การทำนั้นการวิจัย สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้
ที่มา : ธีรวุฒิ เอกะกุล .(2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4 .อุบลราชธานี : วิทยาออฟเซทการพิมพ์.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2555.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2555.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2534). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น