ธีรวุฒิ เอกะกุล (2549 : 106-110). ได้กล่าวไว้ว่า ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดาเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลาดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลาดับเวลาด้วย
http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209 ได้กล่าวไว้ว่า การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องว่าก่อนจะวางแผนทำวิจัยเรื่องใด ควรมีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิจัยอย่างละเอียดและ รอบคอบ เพื่อทำให้เข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น การอ่านเอกสารจะต้องใช้วิจารณญาณในการประเมิน โดยวิเคราะห์ใน 2 ประเด็น คือ เอกสารนั้นถูกต้องและเชื่อถือได้หรือไม่ แล้วสามารถประยุกต์เข้ากับเรื่องที่เราจะศึกษาหรือไม่ ถ้าพบว่าเรื่องที่จะศึกษา มีผู้อื่นทำแล้วด้วยรูปแบบการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และสามารถตอบคำถามของการวิจัยได้ชัดเจนแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำวิจัยซ้ำ ให้เสียทั้งเวลาและงบประมาณ
www.satit.nu.ac.th/nud/strand/science/project_1/Proposal.doc ได้กล่าวไว้ว่า การเขียนทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการทบทวนแนวคิดหรือทฤษฎีต่าง ๆ ที่จะนำมาเป็นกรอบความคิดในงานวิจัยของเรา หากเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณจะให้ความสำคัญมากเพราะจะนำไปสู่การตั้งคำถามในแบบสอบถาม ส่วนการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นการทบทวนงานวิจัยที่ใกล้เคียงกับของเราซึ่งอาจใกล้เคียงในด้านความสำคัญของปัญหาการวิจัยหรือวิธีในการดำเนินการวิจัยก็ได้ การเขียนจะต้องเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบ มีการสรุปในตอนท้ายของแต่ละตอนและให้เชื่อมโยงกับย่อหน้าต่อไปด้วย
สรุป
การเขียนทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย การอ่านเอกสารจะต้องใช้วิจารณญาณในการประเมิน โดยวิเคราะห์ใน 2 ประเด็น คือ เอกสารนั้นถูกต้องและเชื่อถือได้หรือไม่ แล้วสามารถประยุกต์เข้ากับเรื่องที่เราจะศึกษาหรือไม่การเขียนจะต้องเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบ มีการสรุปในตอนท้ายของแต่ละตอนและให้เชื่อมโยงกับย่อหน้าต่อไปด้วย
ที่มา : ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.
พิมพ์ครั้งที่ 4. อุบลราชธานี : วิ ทยาออฟเซทการพิมพ์.
http://www.learners.in.th/blogs/posts/45020.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม 2555.
www.satit.nu.ac.th/nud/strand/science/project_1/Proposal.doc.[ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2555.
พิมพ์ครั้งที่ 4. อุบลราชธานี : วิ ทยาออฟเซทการพิมพ์.
http://www.learners.in.th/blogs/posts/45020.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม 2555.
www.satit.nu.ac.th/nud/strand/science/project_1/Proposal.doc.[ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2555.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น