วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

11.รูปแบบการวิจัย (Research Design)

      
เรืองอุไร  ศรีนิลทา (2535 : 228)  ได้กล่าวไว้ว่า รูปแบบการวิจัยจะต้องมีรูปแบบ (format) ตามที่หน่วยงานที่กำกับการดำเนินงานวิจัยหรือองค์กรที่จะตีพิมพ์งานวิจัยออกเผยแพร่กำหนด   รูปแบบของการวิจัย เป็นแนวทางโดยทั่วไปของการจัดรายละเอียดให้เป็นหมวดหมู่และการเรียงลำดับรายละเอียดของงานวิจัยนั้น รูปแบบของการเขียนรายงานวิจัยที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่มากมาย  โดยปกติหน่วยงานที่กำกับการดำเนินงานวิจัยแต่ละหน่วยงานรวมทั้งองค์กรที่ตีพิมพ์รายงานการวิจัยออกเผยแพร่แต่ละองค์กรด้วยจะกำหนดรูปแบบของรายงานวิจัยนั้นขึ้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายถือปฏิบัติ ฉะนั้นก่อนที่จะเริ่มเขียนรายงานวิจัย ผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องศึกษารูปแบบของรายงานการวิจัยที่หน่วยงานกำกับการดำเนินงานวิจัยของตน และองค์กรที่ตนประสงค์จะให้ตีพิมพ์รายงานวิจัยของตนออกเผยแพร่  กำหนดและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้กับรายละเอียดที่สำคัญต่างๆของรูปแบบนั้น  แล้วปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการเขียนรายงานวิจัย

http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm ได้กล่าวไว้ว่า รูปแบบการวิจัย เปรียบเสมือนโครงสร้างของบ้าน จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นกับคำถาม และวัตถุประสงค์ของการวิจัย ส่วนระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) เปรียบเสมือนการตกแต่งภายใน ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับโครงสร้างของบ้าน (design) ดังนั้น ในการเขียนโครงร่างการวิจัย จึงจำเป็นต้อง กำหนดรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม

                ไพศาล  หวังพานิช  (2531 : 80) ได้กล่าวไว้ว่า รูปแบบการวิจัย เป็นแบบการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของปัญหาที่ต้องการศึกษาค้นคว้าได้อย่างถูกต้องแบบการวิจัยมีหลายแบบด้วยกันซึ้งมีตั้งแต่แบบที่ง่ายไปจนถึงแบบที่สลับซับซ้อนการที่ผู้วิจัยจะเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องการศึกษาต้องการคำตอบในเรื่องใดบ้างลึกซึ่งแค่ไหน

สรุป
รูปแบบการวิจัยจะต้องมีรูปแบบ (format) ตามที่หน่วยงานที่กำกับการดำเนินงานวิจัยหรือองค์กรที่จะตีพิมพ์งานวิจัยออกเผยแพร่กำหนด   รูปแบบของการวิจัย เป็นแนวทางโดยทั่วไปของการจัดรายละเอียดให้เป็นหมวดหมู่และการเรียงลำดับรายละเอียดของงานวิจัยนั้น รูปแบบของการเขียนรายงานวิจัยที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่มากมายเปรียบเสมือนโครงสร้างของบ้าน จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นกับคำถาม และวัตถุประสงค์ของการวิจัย ส่วนระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) เปรียบเสมือนการตกแต่งภายใน ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับโครงสร้างของบ้าน (design)การที่ผู้วิจัยจะเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องการศึกษาต้องการคำตอบในเรื่องใดบ้างลึกซึ่งแค่ไหน จึงจำเป็นต้อง กำหนดรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม

ที่มา :     เรืองอุไร ศรีนิลทา. (2535). ระเบียบวิธีวิจัย.  กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm.[ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม2555.
               ไพศาล หวังพานิช.  (2531).  วิธีการวิจัย.  กรุงเทพฯ : งานส่งเสริมวิจัยและตำรากองบริหารการ
                ศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น