http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้กล่าวไว้ว่า ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style
http://www.sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=47:-research-thesis&catid=34:-thesis-research&Itemid=76 ได้กล่าวไว้ว่า เอกสารอ้างอิง คือ รายการที่แสดงรายชื่อหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ บุคคล และวัสดุต่างๆที่นำมาประกอบการเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ก่อน รายการบรรณานุกรม ให้มีหน้าบอกตอนบรรณานุกรม
ธีรวุฒิ เอกะกุล (2549:117) ได้กล่าวไว้ว่า เอกสารอ้างอิงเป็นรายชื่อเอกสารหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้วิจัยนำมาใช้ประกอบการเขียน ศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงในงานวิจัยของตน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าการเขียนรายงานการวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยรวบรวมไว้ตอนท้ายของรายงานเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจได้ติดตามศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารเหล่านั้น
สรุป
เอกสารอ้างอิงเป็นรายชื่อเอกสารหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้วิจัยนำมาใช้ประกอบการเขียน ศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงในงานวิจัยของตน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าการเขียนรายงานการวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และเพื่อประกอบเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style
ที่มา : http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.[ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2555.
เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2555.
http://www.sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=47:-research-thesis&catid=34:-thesis-research&Itemid=76.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2555.
ธีรวุฒิ เอกะกุล . (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.
พิมพ์ครั้งที่ 4 . อุบลราชธานี : วิทยาออฟเซทการพิมพ์.
พิมพ์ครั้งที่ 4 . อุบลราชธานี : วิทยาออฟเซทการพิมพ์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น