วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

5.วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย (Objective)

                เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์  (2535 : 54) ได้ กล่าวไว้ว่า  เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้
               
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921    ได้กล่าวไว้ว่า    วัตถุประสงค์ของการวิจัยว่า เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
 3.1    วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด  ตัวอย่างเช่น  เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
        3.2    วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
                  3.2.1    เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
                  3.2.2    เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน

                รวีวรรณ  ชินะตระกูล  (2540 : 82) กล่าวไว้ว่า   การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย  ต้องสอดคล้องกับเรื่องที่ต้องศึกษา  ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้ชัดเจน  ต้องสัมพันธ์กับขอบเขตของปัญหาที่จะศึกษา  ถ้ากำหนดวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน  อาจทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของปัญหาที่จะศึกษา  และในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย  ควรจัดเรียงวัตถุประสงค์ของแต่ละข้อตามลำดับของการวิจัย


สรุป
เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย  ต้องสอดคล้องกับเรื่องที่ต้องศึกษา  ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้ชัดเจน  ต้องสัมพันธ์กับขอบเขตของปัญหาที่จะศึกษา  ถ้ากำหนดวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน  อาจทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของปัญหาที่จะศึกษา

ที่มา :     เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์.  (2535).  โครงร่างวิจัย.  สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ  : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.[ออนไลน์]
                 เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2555.
                 รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  (2540) . โครงร่างวิจัย.  กรุงเทพ ฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด
                 ภาพพิมพ์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น