ปริวัตร เขื่อนแก้ว(http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm )ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ดังนี้ เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
ครูบ้านนอก (www.kroobannok.com/39841 : 26/06/2554)ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ดังนี้ รุ่ง แก้วแดง (2541 : 118)กล่าว ถึง การปฏิวัติการเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้ดำเนิน โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ซึงมีศาสตราจารย์กิตติคุณสุมน อมรวิวัฒน์เป็นที่ปรึกษาโดยแบ่งเป็น 5 โครงการย่อยซึ่งสอดคล้อง สุมน อมรวิวัฒน์ (2541 : 5) ได้กล่าวถึงแนวคิดใหม่ของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนว่า แก่นแท้ของการเรียนการสอน คือ การเรียนรู้ของผู้เรียนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกแห่งทุกเวลาต่อเนื่องยาว นานตลอดชีวิต ศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดของการเรียนรู้ผู้เรียน ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสและสัมพันธ์สาระที่สมดุลเกิดขึ้นจากการ เรียนรู้ คือ ความรู้ ความคิด ความสามารถและความดีข้อความข้างต้นคือ ที่มาของทฤษฎีการเรียนรู้ 5 ทฤษฎี ที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำขึ้นโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทฤษฎีมาจัดสาระและกระบวนการ เพื่อนำเสนอแก่ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้สอน ทฤษฎีการเรียน
สรุป กระบวนการประมวลข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ การรู้จักและความใส่ใจของบุคคลที่รับสิ่งเร้าการทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้ คือ
1. การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2. การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (Software)
3. การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
ที่มา : ทิศนา แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้
ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. หน้า80-84
ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. หน้า80-84
ปริวัตร เขื่อนแก้ว (http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm ).[ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ครูบ้านนอก (www.kroobannok.com/39841 : 26/06/2554).[ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น