ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้
(http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ
ไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ (Insight Learning) ทฤษฎีการหยั่งรู้นี้เป็นการศึกษาทดลองของนักจิตวิทยาชาวเยอรมันซึ่งเยกว่ากลุ่มเกสตอล (Gestalt) ซึ่งประกอบด้วย นักจิตวิทยาที่สำคัญ 3 คน คือ เวอร์ไทเมอร์ คอฟฟ์ก้าและเคอเลอร์ คำว่า เกสตอล (Gestalt) หมายถึง แบบแผนหรือภาพรวม โดยนักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้ให้ความสำคัญกับส่วนรวม หรือผลรวมมากว่า ส่วนย่อย ในการศึกษาวิจัยพบว่าการรับรู้ของคนเรามักจะรับรู้ส่วนรวมมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อย ในการเรียนรู้ และการแก้ปัญหา ก็เช่นเดียวกัน คนเรามักจะเรียนอะไรได้เข้าใจก็ต้องศึกษาภาพรวมก่อน หลังจากนั้นจึง พิจารณา รายละเอียดปลีกย่อย จะทำให้เกิดความเข้าใจ ในเรื่องนั้นได้ชัดเจนขึ้น การเรียนรู้ตามแนวของกลุ่มเกสตอล จะมีลักษณะดังนี้ ภาพรวม รายละเอียดปลีกย่อย ภาพรวม
(Whole) (Parts) (Whole)
(ความเข้าใจ)(Insight)
(Whole) (Parts) (Whole)
(ความเข้าใจ)(Insight)
การทดลองของกลุ่มการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ ผลการทดลองสรุปได้ว่า โดยปกติแล้วคนเราจะมีวิธีการเรียนรู้แลการแก้ปัญหา โดยอาศัยความคิดและประสบการณ์ เดิมมากว่ากาลองผิดลองถูก เมื่อสามารถแก้ปัญหาในลักษณะนั้นได้แล้ว เมื่อเผชิญกับปัญหาที่คล้ายคลึงกันก็สามารถแก้ปัญหาได้ทันที ลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้ เพราะมนุษย์สามารถจัดแบบ (Pattern) ของความคิดใหม่เพื่อใช้ใน การแก้ปัญหาที่ตนเผชิญอยู่ได้อย่างเหมาะสม หลักการรับรู้ของมนุษย์ เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้มีผลให้นักการศึกษานำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก ทั้งนี้เพราะการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้
การรับรู้ของมนุษย์มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjective) และเห็นความสำคัญของส่วนรวมมากกว่า รายละเอียดปลีกย่อย
การรับรู้ของมนุษย์มีลักษณะเป็นอัตนัย (Subjective) และเห็นความสำคัญของส่วนรวมมากกว่า รายละเอียดปลีกย่อย
กฎการรับรู้ที่สำคัญมี 4 ข้อ ดังนี้
1. กฎแห่งความใกล้ชิด (Proximity) สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กัน มักจะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
2. กฎแห่งความคล้าย (Similarity) สิ่งเร้าที่มองดูคล้ายกันจะถูกจัดว่าเป็นพวกเดียวกัน
3. กฎแห่งความสมบูรณ์ (Closure) สิ่งเร้าที่มีบางส่วนบกพร่องไปคนเราจะรับรู้โดยเติมส่วนที่ขาดหายไปให้เป็นภาพ หรือเป็นเรื่องที่สมบูรณ์
4. กฎแห่งการต่อเนื่องที่ดี (Good Continuation) สิ่งเร้าที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างดี จะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
1. กฎแห่งความใกล้ชิด (Proximity) สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กัน มักจะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
2. กฎแห่งความคล้าย (Similarity) สิ่งเร้าที่มองดูคล้ายกันจะถูกจัดว่าเป็นพวกเดียวกัน
3. กฎแห่งความสมบูรณ์ (Closure) สิ่งเร้าที่มีบางส่วนบกพร่องไปคนเราจะรับรู้โดยเติมส่วนที่ขาดหายไปให้เป็นภาพ หรือเป็นเรื่องที่สมบูรณ์
4. กฎแห่งการต่อเนื่องที่ดี (Good Continuation) สิ่งเร้าที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างดี จะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา (http://surinx.blogspot.com/) ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ว่า เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) เป็นผู้เริ่มทฤษฎีสนาม (Field Theory) คำว่า “field”มาจากแนวคิดเรื่อง “field of force” ทฤษฎีการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้
1.พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจและความต้องการของตนจะมีพลังเป็นบวก สิ่งที่นอกเหนือจากความสนใจจะมีพลังเป็นลบ ในขณะใดขณะหนึ่งคนทุกคนจะมี “โลก”หรือ “อวกาศชีวิต” (life space) ของตน ซึ่งจะประกอบไปด้วยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (psysical environment) อันได้แก่ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สิ่งแวดล้อม อื่น ๆและสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา (psychological environment) ซึ่งได้แก่แรงขับ (drive) แรงจูงใจ (motivation) เป้าหมายหรือจุดหมายปลายทาง (goal) รวมทั้งความสนใจ (interest)
2.การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จำเป็นต้องอาศัยการทำความเข้าใจ.”โลก” ของผู้เรียนว่า ผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายและความต้องการอะไร อะไรเป็นพลัง+และอะไรเป็นพลัง-ของเขา และพยายามจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่จะช่วยให้ผู้เรียนไปสู่จุดหมาย
2.การจัดการเรียนรู้ให้เข้าไปอยู่ใน”โลก”ของผู้เรียน โดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอน
3.การสร้างแรงจูงใจ และ/หรือแรงขับที่จะนำให้ผู้เรียนไปสู่ทิศทางหรือจุดหมายที่ต้องการ เป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
สรุป การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเสนอภาพรวม ก่อนการเสนอส่วนย่อยคนเรามักจะรับรู้ส่วนรวมมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อย ในการเรียนรู้ และการแก้ปัญหา ก็เช่นเดียวกัน คนเรามักจะเรียนอะไรได้เข้าใจก็ต้องศึกษาภาพรวมก่อน หลังจากนั้นจึง พิจารณา รายละเอียดปลีกย่อย จะทำให้เกิดความเข้าใจ ในเรื่องนั้นได้ชัดเจนขึ้น พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจและความต้องการของตนการเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
ที่มา: ยินดี เจ้าแก้ว (http://school.obec.go.th/sup_br3/rn_05.htm).[ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555
เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan). [ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555
เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา(http://surinx.blogspot.com/). [ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555
เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น