ประสาท อิศรปรีดา (2538:240) ได้รวบรวมทฤษฎีของสกินเนอร์ไว้ว่า การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การจะพิจารณาว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ก็ดูจากการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนอง และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง อัตราการตอบสนองก็คือผลกรรม หรือสิ่งที่ได้รับจากผลกรรมนั้นว่าจะเป็นเช่นไร ถ้าหากผลที่ได้รับก่อให้เกิดการพอใจ อินทรีย์ก็จะมีแนวโน้มกระทำพฤติกรรมนั้นถี่ หรือเพิ่มมากขึ้น การดำเนินการเพื่อให้อินทรีย์ได้รับผลที่พึงพอใจ และทำให้อัตราการตอบสนองมีแนวโน้มถี่หรือเพิ่มขึ้นนี้เรียกว่า การเสริมแรง และสิ่งเร้าหรือผลกรรมที่ได้รับหลังจากตอบสนองดังกล่าวนี้เรียกว่า ตัวเสริมแรง
สุรางค์ โค้วตระกูล (2541:187) ได้รวบรวมทฤษฎีของ พาฟลอฟ (Pavlov, 1849-1936) ไว้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขตอบสนองเพื่อวางเงื่อนไข (CS) เป็นการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขคลาสสิก การวางเงื่อนไขเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข กับการตอบสนองที่ต้องการให้เกิดขึ้น โดยการนำCS คู่ควบกับสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (US) ซ้ำๆกัน หลักสำคัญก็คือ จะต้องให้US หลัง CS อย่างกระชั้นชิด คือเพียงเสี้ยววินาทีและจะต้องทำซ้ำๆกัน
ยินดี เจ้าแก้ว (http://school.obec.go.th/sup_br3/rn_05.htm) ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ว่าธอร์นไดค์(Thorndike) มีความเชื่อเกี่ยวกับทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism) ว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว และจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
สรุป การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมารจะพิจารณาว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ก็ดูจากการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนอง และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง อัตราการตอบสนองก็คือผลกรรม หรือสิ่งที่ได้รับจากผลกรรมนั้นว่าจะเป็นเช่นไร ถ้าหากผลที่ได้รับก่อให้เกิดการพอใจ อินทรีย์ก็จะมีแนวโน้มกระทำพฤติกรรมนั้นถี่ หรือเพิ่มมากขึ้น การดำเนินการเพื่อให้อินทรีย์ได้รับผลที่พึงพอใจ การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขตอบสนองเพื่อวางเงื่อนไข (CS) หลักสำคัญก็คือ จะต้องให้US หลัง CS อย่างกระชั้นชิด คือเพียงเสี้ยววินาทีและจะต้องทำซ้ำๆกัน บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว
ที่มา : ประสาท อิศรปรีดา. (2538).สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา.มหาสารคาม.นำอักษรการพิมพ์
สุรางค์ โค้วตระกูล.(2541).จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ยินดี เจ้าแก้ว (http://school.obec.go.th/sup_br3/rn_05.htm).[ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น