วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการเรียนรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)

3. ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการเรียนรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)
                ความเชื่อของนักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ นั้น มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระต้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral-passive) มนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทาง จึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ได้ดี
John Locke (2550:36) ได้กล่าวไว้ว่า ไม่เห็นด้วยอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องที่เชื่อว่าความรู้
ความสามารถที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด เขากล่าวว่า การเรียนรู้ประกอบด้วยการที่บุคคล ได้รับความคิดหรือประสบการณ์ต่างๆ เข้าไปยังสมองที่ว่างเปล่า  ความคิดต่างๆที่เข้ามาสู่ในสมองนั้น โดยประสาทสัมผัส เรียกว่า ประสบการณ์

http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486  ด้กล่าวไว้ว่า
ทิชเชเนอร์   ได้กล่าวไว้ว่า   จิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 (sensation) การรู้สึก (feeling) คือ การตีความ หรือ แปลความหมายจากการสัมผัส และส่วนประกอบของจิตอีก ได้แก่ จินตนาการ (imagination) คือ การคิดวิเคราะห์

 Dr.Surin (http://surinx.blogspot.com/) ได้กล่าวไว้ว่า
แฮร์บาร์ต  ได้กล่าวไว้ว่า   การเรียนรู้มี 3 ระดับคือขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส
(sense activity)  ขั้นจำความคิดเดิม (memory characterized) และ ขั้นเกิดความคิดรวบยอดและเข้าใจ (conceptual thinking or understanding) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมประสบการณ์หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อย ๆ เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น โดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกัน (apperception)

สรุป   มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้เกิดได้นั้น จะต้องอาศัยจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม มนุษย์ได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมประสบการณ์ หรือ ความรู้เหล่านี้ไว้ ความคิดต่างๆที่เข้ามาสู่ในสมองนั้น โดยทาง ประสาทสัมผัส เรียกว่า ประสบการณ์

ที่มา :     พรรณี ช.เจนจิต. (2550).จิตวิทยาการสอน.กรุงเทพฯ:เจริญวิทย์การพิมพ์
               http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486.[ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555
            Dr.Surin (http://surinx.blogspot.com/).[ออนไลน์]                 
เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น